วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสาร

องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร มี 4 ประการ ดังนี้
1. ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ผู้พูด ผู้เขียน กวี ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ โฆษกรัฐบาล องค์การ สถาบัน สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ หน่วยงานของรัฐ บริษัท สถาบันสื่อมวลชน เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ส่งสาร


1. เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ

2. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี

3. เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร

4. เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร

5. เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร
 


2. สาร (message) หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ เช่น ข้อความที่พูด ข้อความที่เขียน บทเพลงที่ร้อง รูปที่วาด เรื่องราวที่อ่าน ท่าทางที่สื่อความหมาย เป็นต้น

2.1 รหัสสาร
(message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ

2.2 เนื้อหาของสาร
(message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน

2.3 การจัดสาร
(message treatment) หมายถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม

3. สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป ดังนี้
(สถาบันราชภัฏสวนดุสิต, 2542: 6 )
เกณฑ์การแบ่ง
ประเภทของสื่อ
ตัวอย่าง
1. แบ่งตามวิธีการเข้า และถอดรหัส
สื่อวัจนะ (verbal)
สื่ออวัจนะ (nonverbal)
คำพูด ตัวเลข
สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง
หนังสือพิมพ์ รูปภาพ
2. แบ่งตามประสาทการรับรู้
สื่อที่รับรู้ด้วยการเห็น
สื่อที่รับรู้ด้วยการฟัง
สื่อที่รู้ด้วยการเห็นและการฟัง
นิตยสาร
เทป วิทยุ
โทรทัศน์ ภาพยนตร์
วีดิทัศน์
3. แบ่งตามระดับการสื่อสาร หรือจำนวนผู้รับสาร
สื่อระหว่างบุคคล
สื่อในกลุ่ม
สื่อสารมวลชน
โทรศัพท์ จดหมาย
ไมโครโฟน
โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์
4. แบ่งตามยุคสมัย
สื่อดั้งเดิม
สื่อร่วมสมัย
สื่ออนาคต
เสียงกลอง ควันไฟ
โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิล
วีดิโอเทกซ์
5. แบ่งตามลักษณะของสื่อ
สื่อธรรมชาติ
สื่อมนุษย์หรือสื่อบุคคล
สื่อสิ่งพิมพ์
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สื่อระคน
อากาศ แสง เสียง
คนส่งของ ไปรษณีย์ โฆษก
หนังสือ นิตยสาร ใบปลิว
วิทยุ วีดิทัศน์
ศิลาจารึก สื่อพื้นบ้าน
หนังสือ ใบข่อย
6. แบ่งตามการใช้งาน
สื่อสำหรับงานทั่วไป
สื่อเฉพาะกิจ
จดหมายเวียน โทรศัพท์
วารสาร จุดสาร วีดิทัศน์
7. แบ่งตามการมีส่วนร่วม
ของผู้รับสาร
สื่อร้อน
สื่อเย็น
การพูด
การอ่าน

4. ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร เช่น ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ฟังรายการวิทยุ กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น